ถ้าซ้ำขออภัยด้วย
LED แต่ละสีนั้นมีความต้องการแรงดันตกคร่อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำไปใช้งานจึงมีความจำเป็นต้องต่อตัวต้านทาน (R) อนุกรมกับ LEDกับขา A สูตรคำนวณ
(แรงดันไฟที่ใช้ - แรงดันตกคร่อม) (ดูค่าของหลอด led ในตาราง) / กระแสไฟฟ้าที่หลอด led ต้องการ
หมาเหตุ โดยปกติหากเป็น LED แบบธรรมดาจะต้องการกระแสประมาณ 10 มิลลิแอมป์ แต่หากเป็นประเภทความสว่างสูง อย่างซูเปอร์ไบรต์ส่วนมากจะต้องกา่รกระแสที่ 20 ถึง 30 มิลลิแอมป์ (โดยค่ากระแสนี้ได้มาจากคุณสมบัติของ LED แต่ละผู้ผลิต) ก็อย่าลืมคำนึงถึงชนิด LED ที่เราใช้เป็นสำคัญ
ตัวอย่าง
ต่อ LED สีน้ำเงินหนึ่งดวง ต่อกับไฟเลี้ยง 12 โวลต์ ดังนั้นจะสามารถแทนค่าจากสูตรได้ดังนี้
คำนวน (12 -2.5 ) 0.02(20 มิลลิแอมป์ ) =475 โอมห์ ดังนันใช้ค่า R ประมาณ 500 โอห์ม
ต่อ หลายดวงแบบ อนุกรม LED สีน้ำเงิน 3 ดวง ต่อกับไฟเลี้ยง 12 โวลต์
คำนวน (12 -(2.5+2.5+2.5) ) 0.02 = 225 โอห์ม ถ้าไม่มีหาค่าใกล้เคียง
การต่อยังมีหลายแบบ
เช่น ต่อแบบขนาน แบบตัวต้านทานแยกแบบนี้สำหรับ ใช้กับวงจรที่ต้องต่อ LED จำนวนมากเพราะต้องการแรงดันตกคร่อม LED เท่าเดิม แต่ต้องการกระแสเพิ่มมากขึ้นตามจำนวน LED ที่เพิ่มขึ้น และสิ้นเปลืองจำนวนตัวต้านทานแต่จะได้ความสว่างของ LED เท่ากัน
การต่อ แบบขนาน แบบตัวต้านทานร่วม การต่อแบบนี้จะทำให้ความสว่างของ LED ไม่เท่ากัน โดย LED ดวงที่มีศักย์ทางไฟฟ้าต่ำสุดจะสว่างมากกว่าดวงอื่น แต่ก็ช่วยประหยัดจำนวนตัวต้านทาน
ที่มา
http://group.wunjun.com/pimchanok/topic/196621-5151