loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 01:49:29 pm » |
|
.. เนื่องจาก มีหลายท่าน สงสัยในการอ่านค่าของ รีซิสเตอร์ แบบชิป หรือ SMD ว่า มีหลักการอ่านค่าอย่างไร เพราะส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการอ่าน แถบสี บนตัวรีซิสเตอร์ พอมาเจอเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ก็ไม่รู้ว่าจะอ่านอย่างไร
ดังนั้นผมจึงขอเสนอ การอ่านค่ารีซิสเตอร์แบบชิป ไว้ตรงนี้ เพื่อเป็นประโยชน์กับส่วนรวม เป็นการพัฒนาความรู้ของช่าง โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ ผมจะใช้จากเว็ปไซด์ตามที่ให้เครดิตไว้ เผื่อท่านที่สนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ เพราะใช้ภาษาง่าย ๆ อ่านเข้าใจได้เร็ว (สำหรับคนที่พอได้ภาษาอังกฤษ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 01:51:20 pm » |
|
ปกติ R ที่เราคุ้นเคยแต่ก่อนเก่า หรือแบบพิมพ์นิยม จะแสดงค่า โดยใช้แถบสี คาด รอบตัว โดยสีแต่ละสี จะมีความหมายเป็นตัวเลข หรือ ค่าที่กำหนด ช่างส่วนใหญ่จะถนัดในการอ่านค่า พอเห็นก็อ่านได้เลย ค่าที่แสดงนอกจากจะบอกค่าโอห์ม แล้ว ยังบอกค่าความคลาดเคลื่อน หรือ tolerance ไว้ด้วย เป็น บวกลบ 20% 10% 5% 2% 1% ...ฯลฯ
ปัจจุบันมีการสร้างรีซิสเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อใช้ในการติดตั้งแบบติดที่ผิว เป็น SMD ก็เลยมี R แบบชิป ลักษณะจะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงค่าก็ใช้วิธีพิมพ์ตัวเลขหรือตัวอักษร ติดบนตัว R การอ่านค่า ก็เลยเปลี่ยนมาอ่านค่าตัวเลขตัวอักษร แทนการอ่านแถบสี
สำหรับวิธีการอ่านค่าตัวเลขนั้น ก็ใช้วิธีคลาสสิค หมายถึงวิธีที่ง่าย ๆ ประยุกต์จากของเดิม เพื่อไม่ให้สับสนมาก เดิมอ่านแถบสี อย่างไร กรณีตัวเลขก็ให้อ่านอย่างนั้น จำนวนหลักของตัวเลขบน R แบบชิป เปรียบได้กับ จำนวนแถบสีของ R แบบเดิม ไม่นับแถบแสดงค่าคลาดเคลื่อน คือ เอาเฉพาะส่วนที่แสดงค่าโอห์ม
R แบบเดิม แถบสีแถบสุดท้าย (ไม่นับแถบแสดงค่าคลาดเคลื่อน) จะเป็นตัวคูณ 10 ยกกำลัง หรือจำนวนเลขศูนย์ที่ต่อท้าย แถบสีที่เหลือข้างหน้า ก็เป็นตัวเลขข้างหน้า
พอมาทำเป็น R แบบชิป ตัวเลขแต่ละหลักก็แทนแถบสีแต่ละแถบ ตัวเลขหลักสุดท้ายก็จะเป็นตัวคูณ 10 ยกกำลัง หรือจำนวนเลขศูนย์ที่ต่อท้าย ตัวเลขหลักหน้าที่เหลือทั้งหมด ก็แทนตัวเลขข้างหน้า จะเห็นว่า วิธีอ่านใช้หลักการแบบเดิม ที่คลาสสิคสุด ๆ แต่ง่ายกว่าเพราะไม่ต้องไปจำรหัสสี อันนี้บอกกันตรง ๆ ไม่ต้องใบ้ว่าเป็นเลขอะไร
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2013, 02:01:02 pm โดย loi »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 01:56:12 pm » |
|
การแสดงค่าบน R แบบชิป มีทั้งแบบแสดงตัวเลขทั้งหมด และ แบบตัวเลขผสมตัวอักษรอังกฤษ แบบที่เป็นตัวเลขทั้งหมด จะพบมากที่สุด มี 2 แบบ คือ แบบตัวเลข 3 หลัก และแบบตัวเลข 4 หลัก วิธีการอ่าน ก็อย่างที่บอกข้างต้นแล้ว
หลักการอ่านค่าเบื้องต้นง่าย ๆ สำหรับแบบตัวเลข 3 หลักและแบบตัวเลข 4 หลักคือ
ตัวเลขหลักสุดท้าย จะบอกจำนวนเลขศูนย์ที่ต่อท้าย หรือ ตัวคูณ 10 ยกกำลัง แบบเดียวกับการอ่านรหัสสี แต่อันนี้บอกเป็นตัวเลขมาเลยไม่ต้องแปลให้เสียเวลา ส่วนตัวเลขข้างหน้าที่เหลือ 2 หรือ 3 หลักก็ตัวเลข 2 หลักหรือ 3 หลักหน้านั่นเอง เหมือนแถบสี แต่ไม่ต้องแปล
มีข้อยกเว้นอยู่ คือ กรณีที่ R ตัวนั้นมีค่าน้อยกว่า 10 โอห์ม จะไม่มีตัวคูณ แต่จะใช้ตัวอักษร R เข้ามาปนด้วย
และ จะเปลี่ยนวิธีการอ่านใหม่ โดย อ่านเรียงตัวเลขทั้งหมด ตรงตัว R ให้แทนด้วยจุด หรืออ่านว่าจุด แทน นั่นคือ ตัวเลขก่อนตัวอักษร R เป็นเลขหน้าจุดทศนิยม ตัวเลขหลังตัวอักษร R เป็นตัวเลขหลังจุดทศนิยม
ตัวอย่างแบบ 3 หลัก เช่น 220 0 บอกว่ามีศูนย์ต่อท้าย ศูนย์ตัว คือ ไม่มีศูนย์ต่อท้าย 2 ตัวหน้าคือ 22 ดังนั้นคือ 22 โอห์ม ไม่ใช่ 220 โอห์ม 471 1 บอกว่ามีศูนย์ 1 ตัวต่อท้าย 2 ตัวหน้าคือ 47 ดังนั้นค่าคือ 470 โอห์ม 103 3 คือ มีศูนย์ต่อท้าย 3 ตัว 2 ตัวหน้าคือ 10 ดังนั้นค่าคือ 10000 โอห์ม 3R3 R คือ จุด ก็อ่านเรียงไปเลย 3 จุด 3 ค่าคือ 3.3 โอห์ม R47 อ่านเรียงเป็น จุด 47 คือ 0.47 โอห์ม
ทำนองเดียวกันแบบตัวเลข 4 หลัก เช่น 4700 0 บอกว่ามีศูนย์ต่อท้าย ศูนย์ตัว คือ ไม่มีศูนย์ต่อท้าย 3 ตัวหน้าคือ 470 ดังนั้นคือ 470 โอห์ม ไม่ใช่ 4700 โอห์ม 9531 1 บอกว่ามีศูนย์ต่อท้าย 1 ตัว 3 ตัวหน้าคือ 953 ดังนั้นคือ 9530 โอห์ม 15R0 อ่านเรียงเป็น 15 จุด 0 คือ 15.0 โอห์ม 0R51 อ่านเรียงเป็น 0 จุด 51 คือ 0.51 โอห์ม R133 อ่านเรียงเป็น จุด 133 คือ 0.133 โอห์ม
ถ้าเป็น 0 00 000 0000 ก็เป็นจัมเปอร์ หรือ link คือ ศูนย์โอห์ม
ตามรูป 1764 คือ 1760000 โอห์ม 301 คือ 300 โอห์ม 6R2 คือ 6.2 โอห์ม 122 คือ 1200 โอห์ม
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2013, 02:01:23 pm โดย loi »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 01:57:37 pm » |
|
ยังมีข้อปลีกย่อยพิเศษอีกเช่น ใช้ ตัว M และตัว K มาผสมเข้าไป การอ่านก็อ่านเป็นจุด เหมือนเดิม แต่ลงท้ายว่า M หรือ K ตามในรูป K47 อ่านว่า จุด 47 K คือ 470 โอห์ม 4K7 อ่านว่า 4 จุด 7 K คือ 4.7K M47 อ่านว่า จุด 47 M ก็คือ 0.47M
ตามรูปนี้ จะเห็นว่า ผู้ผลิตเลี่ยงการใช้หลักสุดท้ายเป็นศูนย์ เพราะกลัวเข้าใจผิด เช่น 470 คือ 47 โอห์ม ไม่ใช่ 470 โอห์ม ก็เลยใช้ 47R แทน อ่านว่า 47 จุด ก็คือ 47 โอห์มนั่นเอง เข้าใจง่ายกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 01:58:46 pm » |
|
ปกติ แบบตัวเลข 3 หลัก จะเป็น R แบบคลาดเคลื่อนบวกลบ 5% ถ้ามากกว่านั้น จะทำเป็นแบบชิป และแบบตัวเลข 4 หลัก จะคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 5% คือ 2% 1%
แต่บางกรณี แบบตัวเลข 3 หลัก ก็อาจจะเป็นแบบคลลาดเคลื่อนน้อย ก็ได้ โดย จะมีการขีดเส้นใต้ตัวเลข ตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งสามตัว เพื่อแสดงว่า เป็น R ที่แม่นยำสูง คลาดเคลื่อนน้อย คือ 1% หรือ น้อยกว่า 1% แต่อย่าสับสนกับ R ที่ใช้ในการตรวจจับกระแส แบบนั้นค่าต่ำกว่า 1 โอห์มซึ่งก็ใช้ขีดเส้นใต้เหมือนกัน
เมื่อไม่มีตัวเลขบอก ความคลาดเคลื่อน จะรู้ได้อย่างไรว่า %ความคลาดเคลื่อนเท่าไร อันนี้ให้ดูจาก ลำดับมาตรฐานหรือเลขอนุกรมมาตรฐาน ที่กำหนดไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 02:00:33 pm » |
|
R ทุกแบบ จะถูกกำหนดว่าจะมีค่าใดได้บ้าง ด้วยมาตรฐาน E หรือ EIA ตามความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ผู้กำหนดคือ Electronic Industries Association (EIA)
ที่เคยสงสัยว่า R ทำไมต้องเป็นค่า 1 1.2 2.7 3.3 หรืออะไร ๆ เป็น 1.3 2.1 3.4 ไม่ได้หรือ ก็เพราะ ค่า R ถูกกำหนดโดยมาตรฐานนี้ จะไม่มีค่าแตกต่างจากนี้
มาตรฐานกำหนดไว้ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันการทำค่า R ซ้อนกันโดยไม่จำเป็น หรือ ไม่ให้มีค่า R มากมายหลายค่าเกินไป เพราะก็ใช้งาน ก็คิดเผื่อตามความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้อยู่แล้ว
เช่น ถ้ากำหนดว่าคลาดเคลื่อนได้ บวกลบ 10% R 100 โอห์ม ก็แทนได้ระหว่าง 90 ถึง 110 โอห์ม ดังนั้น การทำ R 95 โอห์มจึงไม่จำเป็น เพราะสามารถใช้ R 100 โอห์มแทนได้อยู่แล้ว (เพราะยอมรับได้ 10%) R ค่าต่อไปก็ควรจะเป็น 120 โอห์ม เพราะแทน 108 ถึง 132 โอห์มได้ ในกรณียอมรับได้ 10% ช่วงห่างของแต่ละค่าก็จะเป็น 20% โดยประมาณ
แต่ถ้ายอมรับได้ 5% ค่า R ที่กำหนดก็มีช่วงห่างแต่ละค่าน้อยลง คือเป็น 10%
การกำหนดตัวเลขที่ R ควรจะเป็น ก็คือ อนุกรม หรือ series ตามความผิดพลาดที่ยอมได้ บวกลบ ปัจจุบัน R ใช้อนุกรม E ดังนี้ E6 20% E12 10% E24 5% E48 2% E96 1% E192 0.5% 0.25% 0.1% และ 0.05% สำหรับ R แบบชิป จะไม่มีอนุกรม E6 และ E12 ค่า R ตามอนุกรมต่าง ๆ แสดงตามรูป อยากได้ค่าไหน ก็ใส่ศูนย์ ใส่จุดทศนิยม ใส่ K ใส่ M เข้าไปก็แล้วกัน ในอนุกรมนั้น R จะมีเฉพาะค่าที่กำหนดเฉพาะในอนุกรมนั้น
อย่างเช่น R 5% จะไม่มี 14K แต่ R 1% 2% มี 14K สำหรับ R แบบชิป อยากจะรู้ว่า อยู่ในอนุกรมไหนหรือคลาดเคลื่อนเท่าไร ก็ต้องเอาตัวเลขไปเทียบดูว่าอยู่ในอนุกรมไหน แต่ถ้าตัวเลข 3 หลัก ก็เป็น 5% แน่ ๆ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2013, 02:02:49 pm โดย loi »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 02:05:34 pm » |
|
เนื่องจากตัวชิป มันเล็ก บางทีมีที่ว่างไม่พอสำหรับพิมพ์ค่า โดยเฉพาะ 4 หลัก ก็เลยออกมาตรฐานใหม่ มีการกำหนดอนุกรมใหม่ขึ้น คือ EIA-96 สำหรับ R SMD 1%
แบบนี้จะใช้ตัวเลข 2 หลัก และตัวอักษร 1 หลัก ใช้แค่ 3 หลัก แต่การอ่านจะยุ่งยากขึ้น
ตัวเลข 2 หลักหน้า แสดงรหัสค่าตัวหน้า อยากรู้ว่าเป็นค่าเท่าไร ก็ต้องเอารหัสตัวเลข 2 หลัก ไปเปิดตารางเทียบ ก็จะได้ค่า 3 ตัวหน้า ตัวอักษร 1 หลักบอกว่า ตัวคูณเท่าไร
ตามตารางข้างล่าง มีตัวอย่างให้ดูด้วย เช่น
01Y เอา 01 ไปเทียบตารางได้ 100 Y ก็คูณ 0.01 ได้ค่า 100 คูณ 0.01 เท่ากับ 1 โอห์ม 68X เอา 68 ไปเทียบตารางได้ 499 X ก็คูณ 0.1 ได้ค่า 499 คูณ 0.1 เท่ากับ 49.9 โอห์ม 76X เอา 76 ไปเทียบตารางได้ 604 X ก็คูณ 0.1 ได้ค่า 604 คูณ 0.1 เท่ากับ 60.4 โอห์ม 01A เอา 01 ไปเทียบตารางได้ 100 A ก็คูณ 1 ได้ค่า 100 คูณ 1 เท่ากับ 100 โอห์ม 29B เอา 29 ไปเทียบตารางได้ 196 B ก็คูณ 10 ได้ค่า 196 คูณ 10 เท่ากับ 1960 โอห์ม หรือ 1.96K 01C เอา 01 ไปเทียบตารางได้ 100 C ก็คูณ 100 ได้ค่า 100 คูณ 100 เท่ากับ 10000 โอห์ม หรือ 10K
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 02:06:59 pm » |
|
สำหรับ ค่ากำลังงานใช้งานของ R แบบชิป นั้น ปกติดูจากตัวถังหรือขนาด ว่าเป็นแบบใด ซึ่งมีตารางแสดงว่า เป็น package แบบไหน ขนาดเท่าไร ค่ากำลังงานใช้งานได้เท่าไร ไว้ใช้เป็นแนวทาง แต่ถ้าจะให้แน่นอน ก็ต้องดูดาต้าชีทอีกที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
loi
VIP 3
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 100
ออฟไลน์
กระทู้: 749
Thank You
-Given: 15
-Receive: 411
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 02:09:01 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงหมอเหลียว
VIP 2
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
 
คะแนนแบ่งปันความรู้ 76
ออฟไลน์
กระทู้: 439
Thank You
-Given: 0
-Receive: 218
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 05:25:53 pm » |
|
+1 ขอบคุณมาก ๆ ครับ สำหรับความรู้ใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
081-9626088
|
|
|
chompoo
VIP 2
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
 
คะแนนแบ่งปันความรู้ 70
ออนไลน์
กระทู้: 2,706
Thank You
-Given: 224
-Receive: 426
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 06:42:02 pm » |
|
ให้อีกหนึ่งเสียงครับ สำหรับความรู้ดีๆ จากหนุ่มใจดีท่านนี้ และคงมีอีกหลายเสียงที่จะตามมาอีกมากมาย ผมจะรอความรู้ดีๆจากพี่นะครับ ขอบคุณอีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ชมภู ตะวัน โรงเรียนศรีสะอาด ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160 เบอร์โทรศัพท์090-589-2089 (ดีแทค)
|
|
|
cannon2011
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
คะแนนแบ่งปันความรู้ 0
ออฟไลน์
กระทู้: 3
Thank You
-Given: 0
-Receive: 0
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 07:10:52 pm » |
|
ดีมากเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
thong
VIP 3
Hero Member
  
คะแนนแบ่งปันความรู้ 508
ออฟไลน์
กระทู้: 6,523
Thank You
-Given: 0
-Receive: 1033
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 07:45:07 pm » |
|
ตามมาขอบคุณอีกครั้งครับคุณ loi ผู้มีน้ำใจงาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ครูทองอิเล็คทรอนิกส์ 15/1 หมู่ 3 ต.ทวีวัฒนา อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 11150 โทร 086 8856 686 (วิทยุ-โทรคมนาคม เทคนิคราชบุรี 2514)
|
|
|
mvdo
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
คะแนนแบ่งปันความรู้ 1
ออฟไลน์
กระทู้: 12
Thank You
-Given: 8
-Receive: 1
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 08:13:38 pm » |
|
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pradap
ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
กลุ่มคนรักเครื่องเสียง
คะแนนแบ่งปันความรู้ 9
ออฟไลน์
กระทู้: 285
Thank You
-Given: 4
-Receive: 28
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 08:26:40 pm » |
|
ขอบคุณจ้า สำหรบความรู้ดีๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง นายประดับ รู้รักษา 4 หมู่ 5 ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ 32230 0801786077 12call ธ กสิกรไทย เลขบัญชี 5202547410
|
|
|
|